บทที่3

บทที่3
1.  ธรรมชาติของภาษา  
ความหมายกว้าง - การแสดงออกเพื่อสื่อความหมาย เช่น ท่าทาง การใบ้ ภาษาสัตว์ เครื่องหมาย สัญญาณ
ความหมายแคบ – การใช้ภาษาของมนุษย์เพื่อสื่อสาร คำที่คิดขึ้นไม่จำเป็นต้องตรงกันกับภาษาอื่น เสียงจึงไม่สัมพันธ์กับความหมาย เว้นแต่การเลียนเสียงธรรมชาติ
หน่วยในภาษา และการขยาย
หน่วยในภาษา หมายถึง เสียง คำ วลี  อนุประโยค และประโยค
การขยายหน่วยในภาษา หมายถึง การนำภาษาเรียงร้อยต่อกันเพื่อให้ได้ใจความไม่จำกัด โดยจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับประโยค

2. เสียง  
          พยัญชนะ – เสียงที่เปล่งออกมาโดยผ่านการกล่อมเกลาเสียงจากอวัยวะภายในช่องปาก เรียกว่า เสียงแปร ประกอบด้วย รูปพยัญชนะ 44 รูป และเสียงพยัญชนะ 21 เสียง

จากตาราง ทำให้จัดหมวดหมู่ได้ ดังนี้
            พยัญชนะไทย  พยัญชนะเติม ตัวอักษรบาลี สันสกฤต  อักษรสามหมู่ อักษรต่ำคู่ อักษรต่ำเดี่ยว

                   ก                 ข  (ฃ)            ค (ฅ)            ฆ                 ง
                   จ                 ฉ                 ช (ซ)             ฌ                 ญ
              (ฎ)  ฏ                 ฐ                  ฑ                 ฒ                 ณ
              (ด)  ต                 ถ                 ท                 ธ                 น
              (บ)  ป                 ผ (ฝ)             พ (ฟ)            ภ               ม                                                                                                                                          ย  ร ล ว       
ศ ษ ส  ห                                              ฬ
                   (อ)                                   (ฮ)

          เมื่อเสียงพยัญชนะต้นถูกนำไปใช้ จะใช้ในลักษณะของ เสียงอักษรนำ (ห  อย่า อยู่ อย่าง อยาก)  และเสียงควบ (ควบแท้ ร ล ว กับ ควบไม่แท้ ทร เป็น ซ  หรือ ไม่ออกเสียงตามรูป)
            เสียงพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) เมื่อนำไปใช้ มี 9 มาตรา คือ ก บ ด ม น ง ย ว ก.กา

(แทรก ก บ ด  สะกด และ สั้น ถือเป็น คำตาย  ส่วน  ม น ง ย ว และ ยาว คือ คำเป็น)  เมื่อประกอบกับ ทัณฑฆาต เรียก การันต์ คือ ไม่ออกเสียง เช่น  จันทร์  ทุกข์  สุขสันต์  เป็นต้น

          สระ  เสียงที่เปล่งออกมาแล้วไม่ผ่านการกล่อมเกลาจากอวัยวะภายในช่องปาก เรียกว่า เสียงแท้ แบ่งเป็น เสียงสระเดี่ยว (18)

                        อะ อา               อิ อี                   อุ อู                   เอะ เอ  
แอะ แอ             โอะ โอ               เออะ เออ           อัวะ อัว     เอาะ ออ

เสียงสระประสม (3) -  (เอียะ) เอีย            (เอือะ) เอือ         (อัวะ) อัว
ข้อควรจำ อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤา ฦา ไม่ถือเป็นสระ เพราะมี เสียง พยางค์ท้าย คือ ม ย ว และเป็นเสียงซ้ำ คือ รึ (อึ) รือ (อือ) เป็นต้น  สระจึงมี 21 รูป 21 (24) เสียง

            วรรณยุกต์ – เสียงที่กำหนดตามระดับของเส้นเสียงเมื่อเปล่งออกมา ใช้กำหนดไตรยางศ์
มี 4 รูป 5 เสียง 
ข้อควรจำ         อักษรต่ำ รูปเอก เสียงโท  รูปโท เสียงตรี
อักษรกลาง ผันได้ครบ 5 เสียง
อักษรสูง ผันได้ครบ 5 เสียงเมื่อนำอักษรต่ำคู่มาช่วย
3. พยางค์
          โครงสร้างพยางค์ ตามปกติ ประกอบด้วย เสียง พยัญชนะต้น  สระ  วรรณยุกต์ (3 ส่วน)
อาจมี พยัญชนะท้าย (4) หรือ การันต์ (4 พิเศษ) หรือตัวสะกดพร้อมการันต์ (5 ส่วน)
            พยางค์ปิด – มีเสียงตัวสะกด (คำครุ   ั  เสียงยาว)
            พยางค์เปิด – ไม่มีเสียงตัวสะกด (คำลหุ   ุ และเสียงสั้น)
4. คำ
            ภาษาไทย สร้างด้วยคำ 7 ชนิด คือ นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ บุพบท สันธาน อุทาน
            นาม -  บอกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ มี 5 ประเภท สามานยนาม วิสามานยนาม อาการนาม สมุหนาม ลักษณนาม
            สรรพนาม – ใช้แทนนาม มี 6 ประเภท บุรุษสรพนาม ประพันธสรรพนาม วิภาคสรรพนาม นิยมสรรพนาม อนิยมสรรพนาม ปฤจฉาสรรพนาม
            กริยา – ใช้บอกอาการ มี 5 ประเภท สกรรม อกรรม วิกรรต (เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ) กริยานุเคราะห์ (ย่อม กำลัง คง อาจ จะ ต้อง ได้ แล้ว ถูก) สภาวมาลา (ทำหน้าที่เป็นเหมือนนาม)

วิเศษณ์ – ใช้ขยาย มี 9 ประเภท เช่น บอกลักษณะ กาล สถาน ประมาณ นิยม อนิยม ประติชญา (หางเสียง) ประติเษธ และปฤจฉา
คำวิเศษณ์บางคำสามารถทำหน้าที่เป็นกริยาของประโยคได้ เช่น หล่อ ดี สวย ร้อน
            บุพบท – ใช้เชื่อม คำ วลี เช่น ของ สำหรับ เพื่อ ใน แก่ กับ แต่ ต่อ แด่ บน ล่าง นอก ใน
ดูรา ดูกร ข้าแต่  ตัวอย่าง  ปลาหมอตายเพราะปาก
            สันธาน – ใช้เชื่อมประโยค 4 ลักษณะ คือ คล้อยตาม ขัดแย้ง ให้เลือก เหตุผล
ตัวอย่าง ปลาหมอตายเพราะปากไม่ดี
            อุทาน  แสดงอารมณ์ แบ่งเป็น บอกอาการ (อุ๊ย ตาย ว้าย กรี๊ด) กับ เสริมบท (ชามเชิม อาหงอาหาร ละคงละคร)
ในการแต่งประโยคมักใช้คำชนิดใดเป็น
     
        ข้อสอบ
1 ประธานในประโยค
1 คำนาม 
2 คำกริยา
3 คำสรรพนาม
4 ถูกทุกข้อ
2. “อ้าว ! หายไปไหน” 
       เป็นคำอุทานที่แสดงถึงข้อใด
1 เข้าใจ
2 เสียใจ
3 สงสัย
4 น้อยใจ
3. ข้อใดไม่ใช่ วิธีการสร้างคำในภาษาไทย
1 เปลี่ยนรูปเพื่อแสดงพจน์
2 สร้างจากคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมารวมกัน
3 นำคำที่มีความหมายเหมือนกันมาซ้อนต่อ
          กัน
4 ใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามมาประกอบ
          กัน
4. ข้อใดเป็นคำมูลทุกคำ
1 อารมณ์ สติ ภาษิต
2 ตักเตือน ภิกษุ ระวัง
3 แมลงวัน ใจร้าย จิตใจ
4 สารพัด ตับเหล็ก น้ำปลา
5. ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อความหมาย
1 ร้อน ๆ 
2 พลศึกษา
3 เดือดร้อน
4 ผ้าเช็ดหน้า
6.  ข้อใดเป็นคำมูลสี่พยางค์
1 มหาบุรษ
2 ละเอียดลออ
3 เสบียงอาหาร
4 กระจุ๋มกระจิ๋ม
7. ข้อใดเป็นคำประสมทุกคำ
1 น้ำตา ตาช้ำ ช้ำใจ
2 ลูกเสือ ลูกโค ลูกชิ้น
3 พัดลม ลมพัด พัดไฟ
4 รถถัง รถไฟ รถบรรทุก
8. ข้อใดไม่เป็นคำประสม
1 จับตา 
2 จับตัว
3 จับผิด
4 จับยาม
9. ข้อใดเป็นการสร้างคำซ้อนต่างจากข้ออื่น
1 ถ้อยคำ
2 หลังคา
3 รากฐาน
4 คัดเลือก
10. ข้อใดมีคำซ้อนมากที่สุด
1 เขาเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา
2  บุญคุณของแม่มีค่าอย่างใหญ่หลวง
3 คนชั่วช้าเลวทรามต้องชดใช้กรรมที่ตน
    ริเริ่มไว้
4 ผู้บังคับบัญชาต้องเด็ดขาดต่อผู้ใต้บังคับ
    บัญชา
11. คำซ้ำในข้อใดแสดงความเป็นพหูพจน์
1 อย่าทำตัวเหมือนเด็ก ๆ
2 เด็ก ๆ กำลังเล่นอยู่หลังบ้าน
3 เด็ก ๆ อย่างฉันก็ทำงานนี้ได้
4 ยายของฉันจากฉันไปตั้งแต่ฉันยังเด็ก ๆ
12. ข้อใดไม่จัดเป็นคำซ้ำ
1 เด็กหนุ่มหนุ่มช่วยกันแบกถังน้ำ
2 บางคนเดินทางจากที่ไกลไกลเพื่อตาม
          หาความฝัน
3 เรื่องสามก๊กเป็นเรื่องตอนที่แผ่นดินจีนแบ่ง
          แยกออกเป็นสามก๊กใหญ่ใหญ่
4 การทะนุบำรุงรักษาประเทศชาติเป็นหน้าที่
          ที่เราชาวไทยควรร่วมมือกันกระทำ
13. มนุษย์ติดต่อสื่อสารกันเพื่อจุดประสงค์ใด
1 แสดงความมุ่งประสงค์ของตนเองให้ผู้อื่น
          ทราบ 
2 การแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนให้ผู้อื่น
          ทราบ
3 การแสดงความมุ่งประสงค์ระหว่างกัน
          ของมนุษย์
4 การแสดงความมุ่งประสงค์และความรู้สึก 
          นึกคิดระหว่างกันของมนุษย์
14. การสื่อสารของมนุษย์ใช้วีใดบ้าง
1 พูด 
2 แสดงกริยาอาการ
3 ใช้เครื่องหมายต่าง ๆ 
4 ถูกทุกข้อ
15. ประโยคใดใช้ภาษาได้เหมาะสม
1 น้าครับช่วยสอนการบ้านให้ผมหน่อยครับ 
          (หลานพูดกับน้า)
2 คุณยายช่วยหยิบกระเป๋าให้ปุยฝ้ายหน่อยซิ 
         (ปุยฝ้ายพูดกับยาย)
3 เด็กอะไรไม่ฉลาดเฉลียวเลย โง่ สมองทึบ 
   เรียนไม่ทันเพื่อน (พ่อพูดกับลูก)
4 เธอเอาการบ้านมาให้ฉันลอกหน่อยซิ ทำ
   เป็นหวงของไปได้ (เพื่อนพูดกับเพื่อน)
16. ถ้านักเรียนต้องการจะขออนุญาตแม่ไปทำ 
      รายงานบ้านเพื่อน นักเรียนจะพูดว่าอะไร
1 แม่ ไปนอนบ้านเพื่อนไม่ต้องห่วง ไปแล้ว
2 แม่ผมไปทำงานบ้านเพื่อนนะ อาจจะไม่
    กลับบ้าน
3 แม่ครับ ผมไปทำรายงานบ้านเพื่อน อาจจะ
   กลับดึก แม่ไม่ต้องเป็นห่วง
4 คุณแม่ครับ ผมมีความจำเป็นต้องไปทำ
    รายงานที่บ้านเพื่อน อาจจะกลับดึก จึงต้อง
    เรียนให้แม่ทราบก่อน
17. ข้อใดมีลักษณะเป็นภาษาเขียน
1 อ๊อดรีบปั่นการบ้านส่งคุณครู
2 พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง แก้มแด๊งแดง
3 ตำรวจออกตรวจตราความสงบในพื้นที่ 
4 วันนี้ที่สนามทบ. ทีมลูกทัพฟ้าลงโม่แข้งกับ
    ทีมทหารน้ำ
18. การบันทึกรายงานการประชุมควรใช้ภาษา
      แบบใด
1 ภาษาพูด
2 ภาษาถิ่น
3 ภาษาปาก
4 ภาษาทางการ

19. ข้อใดเป็นภาษาพูด
1ใคร ๆ ก็อยากเรียนเก่ง
2 เธอจะพูดเล่นลิ้นอย่างไรก็ได้
3 หนังสือน่าอ่านประจำสัปดาห์นี้
4 เกิดวาตภัยที่ภาคใต้ ประชาชนเดือดร้อน
           กันทั่วหน้า
20. ข้อใดใช้ภาษาต่างจากข้ออื่น
1 กล้องถ่ายรูปเล็กกะทัดรัด
2 บ้านของเขาโกโรโกโสมาก
3 นางฟ้าเอื้อมมือดึงดวงดาวลงมา
4 เขาไปเที่ยวงานลอยกระทงสนุกมาก

เฉลย
1. 4
2. 3
3. 1
4. 1
5. 3
6. 4
7. 4
8. 2
9. 2
10. 3
11. 2
12. 4
13. 4
14. 4
15. 1
16. 3
17. 3
18. 4
19. 2

20. 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น