บทที่4

บทที่4
การสร้างคำ
          ภาษาไทย เป็นภาษาในตระกูลคำโดด (ไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ) และมีการกำหนดคำแทนความหมายต่างๆ ขึ้น เรียกว่าคำมูล ซึ่งเป็นคำตั้งขึ้นเอง หรือยืมมาจากภาษาอื่น คำมูล เป็นคำถือเป็นรากของคำนั้น ๆ แล้ว ไม่อาจจะแยกต่อไปได้อีก หรือเมื่อแยกแล้ว ได้คำที่ไม่สอดคล้องกับความหมายเดิม เช่น  ตา ยาย แม่ กิน นอน ศาสนา เขนย ขบ เป็นต้น
ข้อควรสังเกต
นาที เป็นคำมูล ที่มาจาก นา และ ที ที่แม้มีความหมายแต่ไม่เกิดความสัมพันธ์สอดคล้อง
กับความหมายที่มีอยู่ คือ ไม่เกี่ยวเนื่องกับเวลา
ไฟฟ้า เป็นคำประสม ที่มาจาก ไฟ และ ฟ้า ที่ต่างก็มีความหมาย และเมื่อรวมแล้ว
กลายเป็นคำใหม่ที่มีเค้าความหมายเดิม คือ ไฟ

คำมูล
ภาษาไทย                  
สะกดตรงตามมาตรา มีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก เช่น นั่ง นอน พ่อ แม่ น้า งู กา  หรือหาก
มีหลายพยางค์ อาจเกิดจากการกร่อนเสียง แทรกเสียง เติมพยางค์ เช่น หมากม่วง – มะม่วง ต้นขบ – ตะขบ   สายเอว – สะเอว   ผักเฉด – ผักกะเฉด   ลูกดุม – ลูกกระดุม   นกจิบ – นกกระจิบ   โจน – กระโจน   โดด – กระโดด
ไม่นิยมควบกล้ำ   ไม่มีตัวการันต์   มีความหมายหลายอย่างในลักษณะพ้องรูป 
มีรูปวรรณยุกต์กำกับ    ใช้ ใ เป็นส่วนใหญ่   ไ ใช้กับคำอ่าน
คำว่า ศอก ศึก เศิก เศร้า ศก กระดาษ ดาษ ฝีดาษ ฝรั่งเศส เป็นไทยแท้
  
ภาษาบาลี (ท่อง พยัญชนะวรรค ข้างต้น)
            มีตัวสะกดซ้ำกับพยัญชนะถัดไป  ไม่มี ศ ษ   ใช้ ฬ แทน ฑ   ไม่มี ฤ  ฤา ฦ ฦๅ รร
           
ภาษาสันสกฤต  จะมีควบกล้ำ   รร            ศ ษ      ฤ ฤา     ฑ         สถ
บาลี                        สันสกฤต
คห                                คฤห
อิทธิ                              ฤทธิ์
อิสิ                                ฤษี
อุตุ                                ฤดู
จักก                              จักร
สุกก์                              ศุกร์
ขณะ                             กษณะ
ขัตติยะ                          กษัตริย์
เขต                               เกษตร
สิกขา                            ศึกษา
อัคค                              อัคร
นิจจ์                              นิตย์
สัจจะ                            สัตยา
อาทิจจ                          อาทิตย
วิชชา                             วิทยา
มัชฌิม                          มัธยม
ปัญญา                          ปรัชญา
กัญญา                          กันยา
สามัญ                           สามานย์
ถาวร                             สถาพร
สมุทท                           สมุทร
กัปป์                              กัลป์
ธัมม                              ธรรม
วิเสส                             วิเศษ

ภาษาเขมร      1) บัง บัน บรร บำ   เช่น บังคับ บังคม บันได บันดาล บันลือ บำบัด   
                      บำเหน็จ บังเหียน
2) แข โลด เดิน นัก อวย ศก เลิก บาย มาน
3) ราชาศัพท์ เขนย ขนง เสด็จ สมเด็จ อาจ ไถง
4) สะกดด้วย จ ร ล ญ เช่น อร ถวิล เพ็ญ ครวญ จมูก อัญเชิญ
ภาษาจีน                  เจ้าสัว โจ๊ก เจ๊ง เจ๋ง เกาเหลา เก้าอี้ กวยจั๊บ ก๋วยเตี๋ยว
ภาษาญี่ปุ่น               คาราเต้ เคนโด้ กิโมโน
ภาษาเปอร์เซีย           กุหลาบ  ชุกชี  สุหร่าย  ยี่หร่า
ภาษาทมิฬ                ตะกั่ว อาจาด สาเก กุลี
ภาษาชวา มลายู         มังคุด มะละกอ บุหลัน บุหรง น้อยหน่า กริช โสร่ง สลัด
ภาษาโปรตุเกส           สบู่ ปิ่นโต เหรียญ กะละแม
ภาษาฝรั่งเศส             กงสุล กรัม ลิตร

คำมูลเหล่านี้ เข้ามาในภาษาไทยจากการติดต่อซื้อขาย และการศาสนา ซึ่งแม้จะมีการยืมมาใช้แล้ว ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงต้องมีการสร้างคำขึ้นมาใหม่ จากวิธีการดังต่อไปนี้

การประสมคำ
การประสมคำ คือ การนำคำมูลในภาษามาเข้าคู่กันเพื่อให้เกิดเป็นความหมายใหม่ที่ยังคงมีเค้าความหมายเดิมอยู่ โดยมักให้คำแรกเป็นคำที่มีความหมายเป็นหลักของคำนั้น
ตัวอย่าง แม่ทัพ หลังคา พัดลม ไฟฟ้า คนรถ ยินดี หายใจ ยาดับกลิ่น อ่างเก็บน้ำ ชาวนา ชาวสวน ช่างทอง เครื่องมือ การบ้าน การเมือง (ต่างจากอาการนาม เพราะไม่ได้นำหน้ากริยา)
ข้อสังเกต  คำประสม ต้องเป็นเนื้อความใหม่ ไม่ใช่เนื้อความขยาย เช่น
มะม่วงกวน มะม่วงแช่อิ่ม ข้าวเหนียวมะม่วง VS มะม่วงเก่า มะม่วงเน่า มะม่วงของเธอ
เด็กดอง เด็กปั๊ม เด็กยกของ VS เด็กน่ารัก เด็กดื้อ เด็กตัวโต
แม่บ้าน แม่ทัพ แม่น้ำ VS แม่เขา แม่เธอ แม่ฉัน   
การซ้อนคำ
            การซ้อนคำ คือ การนำคำมูลสองคำขึ้นไปมารวมกัน เพื่อขยายหรือไขความหมาย หรือเพื่อให้เสียงกลมกลืนกัน

การซ้อนคำเพื่อความหมาย จะใช้เสียงที่มีความหมายคล้ายกัน มารวมกัน เช่น ครอบครอง บุกรุก คัดเลือก แจกแจง  หรือความหมายตรงข้ามกันมารวมกัน เช่น ดำขาว สูงต่ำ อ้วนผม เท็จจริง มากน้อย
                        การซ้อนคำเพื่อเสียง จะใช้เสียงเดียวกันมาเข้าคู่ เช่น อึกอัก เอะอะ รุ่งริ่ง จุกจิก

การซ้ำคำ
            คำมูลที่นำรูปและเสียงมารวมกัน แล้วความหมายแปรเปลี่ยน ใช้ไม้ยมกแทนได้ เช่น ดีๆ  ดำๆ  เด็กๆ  หรือ เขียนซ้ำคำเดิม เช่น เรื่อยเรื่อย เรียงเรียง  (ในร้อยกรอง) หรือเปลี่ยนรูปบางส่วน เช่น ค้าวขาว แด๊งแดง 
ความหมายอาจเปลี่ยนไปในลักษณะ ดังนี้
จำนวนมากขึ้น                - เด็กๆ ไม่ยอมไปโรงเรียน
แยกจำนวน                    - จ่ายเงินเป็นงวดๆ ดีกว่า
ทำโดยไม่ตั้งใจ                - เดินๆ พอเป็นพิธีแล้วกัน
เน้นความหมาย              - เธอนี่มันบ้านน้อกบ้านนอก
ความหมายเปลี่ยน          - เรื่องแค่นี้เบๆ

การสมาสคำ
          หลักการสมาส คือ นำบาลีสันสกฤตมาสมาสกัน แล้วนำคำขยายไว้ข้างหน้า ไม่ใส่เครื่องหมาย  ์  ะ  แต่อ่านออกเสียงต่อเนื่องกันได้   มักมีคำว่า ศาสตร์ ภัย กรรม ภาพ กร อยู่
หลักสังเกต  พิจารณาว่า
1) มาจากคำบาลี สันสกฤต หรือไม่ คำที่ยกตัวอย่างให้นี้ มักใช้เป็นคำหลอก เช่น  เรือน วัง ทุน สินค้า ลำเนา เคมี ไม้
2)  การเรียงคำหลัก ต้องอยู่หลัก เช่น ผลผลิต (ประสม)  ผลิตผล (สมาส)

การสนธิคำ
            หลักการของสนธิ คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้คำใหม่ วิธีสังเกต ลองแยกคำเหล่านั้นออก แล้วดูว่า ต้องเติม อ เพื่อให้ได้คำหลังที่สมบูรณ์หรือไม่ เช่น
ราโชรส  มาจาก ราช – โอรส, คเชนทร์ มาจาก คช – อินทร์ เป็นต้น

การแผลงคำ   
            การเปลี่ยนแปลงอักษรของคำในภาษาไทยหรือคำในภาษาอื่นที่ไทยนำมาใช้ให้มีรูปที่ต่างไปจากเดิม มีความหมายใหม่ แต่ยังคงรักษาเค้าของความหมายเดิม

การแผลงสระ คือ การเปลี่ยนแปลงคำทางสระให้คำนั้นมีสระผิดไปจากเดิม เช่น จาก สระอะ เป็นสระอา ในคำว่า อธรรม – อาธรรม, วน – วนา เป็นต้น
            การแผลงพยัญชนะ คือ การเปลี่ยนแปลงคำ โดยแปลงพยัญชนะ ไปเป็นพยัญชนะอื่น อาจกลายร่วมกับสระด้วย เช่น กัน – กำนัน, เกิด – กำเนิด, ขจร – กำจร, จน – จำนน, ขาน – ขนาน, ชิด – ชนิด, ทรุด – ชำรุด, ผทม – บรรทม, เพราะ – ไพเราะ, พัก – พำนัก, จอง – จำนอง
            การแผลงวรรณยุกต์ คือ การเปลี่ยนแปลงคำด้วยการแปลงวรรณยุกต์ในคำนั้น ๆ ให้เป็นรูปอื่น เช่น จึง – จึ่ง, ดัง – ดั่ง, บ – บ่, นั่น – นั้น, นี่ – นี้ เป็นต้น

การทับศัพท์
          การทับศัพท์ หมายถึง คำภาษาต่างประเทศที่เขียนด้วยตัวอักษรไทย โดยมากมักเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษ เช่น  ฟุตบอล ปลั๊ก ทอฟฟี่ เชิ้ต แท็กซี่ แบตเตอรี่ โน้ต คอมพิวเตอร์ ชาร์ต

การบัญญัติศัพท์
ศัพท์บัญญัติ หมายถึง การกำหนดคำขึ้นมาเพื่อแทนคำที่ยืมมาใช้ โดยให้เป็นคำในภาษาไทยที่มีความหมายตรงกับคำที่ยืมมา แต่ในการประกอบรูปคำขึ้นใหม่นั้น อาจใช้ทั้งคำไทยแท้ หรือคำจากภาษาอื่น ๆ มาประกอบกันด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น
Automatic         บัญญัติเป็น        อัตโนมัติ
            Cosmetic         บัญญัติเป็น        เครื่องสำอาง
            Entertainment  บัญญัติเป็น        การบันเทิง
            Propaganda     บัญญัติเป็น        การโฆษณาชวนเชื่อ
            Stamp              บัญญัติเป็น        ดวงตราไปรษณียากร
            Seminar           บัญญัติเป็น        สัมมนา
            Telephone        บัญญัติเป็น       โทรศัพท์

6. กลุ่มคำ หรือวลี
            กลุ่มคำ คือ การที่คำหลายคำมารวมกันแล้วมีความหมายเพิ่มขึ้น
ข้อสังเกต  กลุ่มคำ ต่างจากคำประสมตรงที่ คำประสมจะมีความหมายใหม่เกิดขึ้น ส่วนกลุ่มคำมีเพียงความหมายเพิ่ม  ทั้งนี้ต้องพิจารณาบริบทของคำนั้นด้วย
ส่วนกลุ่มคำ ต่างจากประโยค ตรงที่ ประโยคจะมีใจความที่สมบูรณ์ทั้งภาคประธาน และภาคแสดง

ตัวอย่าง

คำประสม                                    กลุ่มคำ
ลูกเสือเข้าค่าย                                       ลูกเสือวิ่งเล่นอยู่ในกรง

ประโยค                                      กลุ่มคำ                   
กระดาษสีมีราคาถูก                               กระดาษสีราคาถูก         

7. ประโยค
            ประโยคในภาษาไทย หากพิจารณาตามโครงสร้างมี 3 ประเภท คือ ประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน

  ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว อย่างไรก็ดี ประโยคความเดียวก็อาจมีความซับซ้อนได้ เช่น

            ที่ห้องที่บ้านของฉันเหนือภูผาสูงที่จังหวัดตากทาสีชมพู
            การส่งเสริมกีฬาในร่มแก่คนหนุ่มสาวช่วยส่งเสริมพลานามัยที่สมบูรณ์ –
            รูปปั้นช้างงาเดียวสีขาวเขี้ยวยาวตัวสูงใหญ่สีดำมีรายละเอียดมาก
          นักกีฬาวิ่งกระโดดกระโจนข้ามรั้วด้วยความดีใจ
            นักเรียนค่อยๆ ดึงสุนัขออกจากกรง
           
  ประโยคความรวม
ประโยคความรวม คือ ประโยคที่มีใจความมากกว่าหนึ่ง มักปรากฏคำเชื่อม และการเชื่อมความใน 4 ลักษณะ คือ การเชื่อมแบบคล้อยตาม การเชื่อมแบบขัดแย้ง การเชื่อมแบบให้เลือก และการเชื่อมแบบเป็นเหตุเป็นผลกัน ตัวอย่างของประโยคความรวมที่มีความซับซ้อน เช่น

            สุนัขป่าออกวิ่งไล่ตามติดเหยื่อ แต่ฝูงสิงโตเข้ามาแย่งชิงเหยื่อไปได้
            นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน และขาดเรียนมากเกินไป จึงไม่มีความรู้และสอบตก
            ป่าไม้ให้ความชุ่มชื้นทำให้โลกเย็น ดังนั้น ถ้าคนทำลายป่าไม้เพิ่มขึ้นจะทำให้โลกร้อนขึ้น

  ข้อสอบ
1.ข้อใดเป็นความหมายของการฟังที่เหมาะสม
      ที่สุด
1 การได้ยินเสียงทางหู
2 การได้ยินเสียงพูดของผู้ส่งสาร
3 การรับรู้ความหมายจากเสียงพูดที่ได้ยิน     จากบุคคลโดยตรง
4 การรับรู้ความหมายจากเสียงพูดที่ได้ยิน
            จากบุคคลโดยตรงหรือผ่านสื่อ
            อิเล็กทรอนิกส์ต่าง  ๆ
2.ข้อใดกล่าวถึงลักษณะการฟังไม่ถูกต้อง 
1 สมรรถภาพการฟังเกิดขึ้นเองตาม
            ธรรมชาติทั้งหมด
2 สมรรถภาพการฟังเกิดขึ้นทั้งโดยกำเนิด
            และการฝึกฝน
3 สมรรถภาพการฟังโดยธรรมชาติของ
            แต่ละบุคคลไม่เท่ากัน
4 สมรรถภาพการฟังสามารถเพิ่มพูนได้
            เรื่อย ๆ โดยการฝึกฝน
3. การฟังเพื่อความเพลิดเพลินโดยเฉพาะ 
      ควรฟังสิ่งใดมากที่สุด
1 เพลง
2 บทกวี
3 ปาฐกถา
4 สารคดีทางโทรทัศน์

4. ขั้นตอนแรกของการสรุปความจากเรื่องที่ฟัง
       และดูคืออะไร
1 จดบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
2 จับประเด็นสำคัญของเรื่อง
3 รวบรวมและเรียงลำดับใจความ
4 แยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น
5. ในการพิจารณาถ้อยคำของผู้พูด คำพูดใดที่มี
       ความหมายใกล้เคียงกันมากที่สุด
1 ชี้แจง-ชี้นำ
2 ชี้นำ-ชี้แนะ
3 ชี้แจง-ชี้แนะ
4 ชี้แจง ชี้ชวน
6. ข้อความใด เป็นการแสดงความคิดเห็น
1 คลุมถุงชนคือการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดให้
   หนุ่มสาวไม่มีโอกาสเลือกคู่เอง
2  ข้อความนี้จะมีความจริงเพียงไรก็ตาม ถ้า 
     สังเกตดูหยาบ ๆ ตามที่เคยเห็นมาก็น่าจะ
     เชื่อได้บ้างในเรื่อง...
3 เรื่องกงจักรเป็นเครื่องทำโทษสัตว์นรกก็มา
    จากหนังสื่อมาลัยที่ว่านี้ คือ ท่านกล่าวไว้
     เป็นตอน ๆ เช่น คนที่เป็นชู้กับเมียท่าน
     ต้องตกนรก
4 นิทานเป็นเรื่องที่แต่งหรือสมมุติขึ้น อาจมี 
    เค้ามาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่โดย
     มากผู้เล่าและผู้ฟังจะรู้ว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้น
     มิใช่เรื่องจริง
7. ข้อใดเป็นข้อเท็จจริง
1 มนุษย์ใช้การพูดในการติดต่อสื่อสาร
2 เด็กผู้ชายชอบอ่านเรื่องเกี่ยวกับการต่อสู้
3 ปีนี้อากาศหนาวมาก ผักผลไม้จะมีราคา
           แพง
4 ผู้หญิงจะเรียนภาษาได้ดีกว่าผู้ชาย ส่วน
           ผู้ชายจะเรียนคำนวณได้ดีกว่าผู้หญิง
8. “พวกเราควรอานหนังสือใหมาก ๆ ไมวา 
        หนังสือนั้นจะเปนเรื่องใดก็ตาม ลวนมี
        ประโยชนทั้งสิ้น เพราะการอานทำใหเรา
       ไดรับรูเรื่องราวตาง ๆ ทั้งเรื่องที่เราไมรู
       มากอนหรือเรื่องที่เรารู     แลวแตไมแนใจ 
       หนังสือจึงทำใหเรามีความรูกวางขวางขึ้น มี
       วิสัยทัศนกวางไกล เปนคนทันสมัย ฉลาดมี
       ไหวพริบดี มีความคิดสรางสรรค” 
       ประเด็นสำคัญของเรื่องคือ ขอใด
1 เด็กไทยไมนิยมอานหนังสือ
2 ประโยชนของการอานหนังสือ
3 การอานหนังสือทำใหมีวิสัยทัศน
4 การอานหนังสือทำใหเปนคนทันสมัย
9. การฟังบรรยายในห้องเรียนจะต้องมีหลักการ 
       ฟังที่ถูกต้อง ยกเว้นข้อใด
1 มีสมุดและอุปกรณ์จดบันทึก
2 พิจารณาหาข้อเท็จจริงจากเรื่องที่ฟัง
3 รู้จักอดทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อ
          อำนวย
4 พิจารณาเรื่องที่ฟังว่าส่งเสริมจินตนาการ
          และความคิดสร้างสรรค์มากน้อยเพียงใด
10. หากผู้พูดพูดผิดหรือพูดไม่ถูกใจ ผู้ที่มี
       มารยาทในการฟังควรปฏิบัติอย่างไร
1 ยกมือคัดข้น
2 เดินออกจากห้องประชุม
3 เก็บอารมณ์ไว้แล้วค่อยซักถามเมื่อมีโอกาส
4 ไม่ถามแต่ก็ไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึก
    ออกมา
11. ข้อใดให้ความหมายของการพูดได้สมบูรณ์
       ที่สุด
1 การเปล่งเสียงเป็นคำพูด
2 การติดต่อสื่อสารด้วยภาษา
3 การสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยเสียง
4 การติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยเสียง 
   ภาษา และกริยาท่าทาง
12. “ ยินดีด้วยนะที่เธอแข่งขันเทนนิสจนได้เป็น
         แชมป์” คำพูดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
1 เพื่อจรรโลงใจ
2 เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี
3 เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
4 เพื่อแสวงหาคำตอบหรือความรู้ 53. การพูดวิธีใดไม่นิยมใช้ในการพูดทั่วไป
1 การพูดแบบท่องจำ
2 การพูดแบบอ่านจากต้นฉบับ
3 การพูดแบบเตรียมตัวล่วงหน้า
4 การพูดโดยไม่เตรียมตัวล่วงหน้า
14. การพูดที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
1 พูดให้ชัดถ้อยชัดคำ
2 พูดน้อยแต่กินความมาก
3 พูดให้คนอื่นคล้อยตามได้
4 ถูกทุกข้อ
15. หลักการแนะนำผู้อื่น ขั้นแรกผู้พูดควรจะ
      กล่าวถึงอะไร
1 บอกชื่อและชื่อสกุล
2 บอกตำแหน่งและประสบการณ์
3 กล่าวถึงหัวข้อเรื่องและโอกาสที่จะพูด
4 บอกวุฒิการศึกษา ความรู้ ความสามารถ
          พิเศษ
16. สมมุติว่านักเรียนได้รับเชิญให้พูดขอบคุณ
       เพื่อน ๆ ที่มาให้กำลังใจในการแข่งขันกีฬา 
       คำพูดแรกที่ควรพูดคืออะไร
1 ขอบคุณเพื่อน ๆ ทุกคนมาก
2 ผมรู้สึกซาบซึ้งใจที่เพื่อน ๆ ได้กรุณาสละ
          เวลามาเชียร์
3 ดีใจที่เพื่อน ๆ มาช่วยเชียร์ ผมจะไม่ทำให้
          ทุกคนผิดหวัง
4 ผมจะทำให้ดีที่สุดสมกับที่เพื่อน ๆ ยกทีม
          กันมาเชียร์มากมายขนาดนี้
17. ข้อใดเป็นการเริ่มสนทนาที่ดี
1 ดีใจที่ได้รู้จักพี่ชายของเพื่อนค่ะ ขอแสดง
          ความยินดีที่พี่ชายมาเป็นผู้อำนวยการ
         โรงเรียน
2 ยินดีมาก พี่เป็นพี่ชายแท้  ๆของสุดาหรือ
          คะ ไม่เคยทราบมาก่อนเลยคนละแม่หรือ
          เปล่าคะ  ขอโทษ
3 ดิฉันไม่เคยคิดเลยว่า พี่ชายของสุดาจะได้
          มาเป็นผู้อำนวยการที่นี่ แหม! โชคดีที่ได้
          รู้จัก พี่มีภรรยาหรือยัง
4  ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ เพิ่งเคยเห็นนี่แหละไปอยู่
           เมืองนอกนานหรือคะ พี่ชายของดิฉันไป
           เป็นทูตแถวยุโรป ว่าจะไปชอบปิ้งอยู่
           เหมือนกันแต่ยังไม่ค่อยมีเวลา ไป
           ออสเตรียนะ เคยไปไหม
18. หลักการสำคัญที่สุดของงการใช้วัจนภาษาคือ
       ข้อใด
1 ใช้คำสุภาพ
2 ใช้คำสัตย์จริง
3 ใช้คำกระชับตรงความหมาย
4 ใช้คำที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจ
19. ข้อใดคือข้อปฏิบัติระหว่างการพูดต่อที่ 
      ประชุมชนที่ดี
1 หาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ฟัง
2 เตรียมลำดับขันตอนการพูด
3 กำหนดวัตถุประสงค์การพูด
4 ยืนพูดอย่างสง่าในท่าทีที่ไม่รู้สึกเคร่งเครียด
20. “ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด หลังพูดคำพูด  
        เป็นนายของเรา” ข้อความนี้แสดงค่านิยม
         เกี่ยวกับมารยาทในการพูดอย่างไร
1 ไม่ควรพูดเท็จ
2 ไม่ควรพูดเพ้อเจ้อ
3ไม่ควรพูดเรื่องส่วนตัว
4 ถูกทุกข้อ
เฉลย
1. 4
2. 1
3. 1
4. 2
5. 3
6. 2
7. 1
8. 2
9. 4
10. 4
11. 4
12. 2
13. 2
14. 4
15. 3
16. 2
17. 1
18. 3
19. 4

20. 4




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น