7. ประโยค
ประโยคในภาษาไทย หากพิจารณาตามโครงสร้างมี 3 ประเภท คือ ประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว อย่างไรก็ดี ประโยคความเดียวก็อาจมีความซับซ้อนได้ เช่น
ที่ห้องที่บ้านของฉันเหนือภูผาสูงที่จังหวัดตากทาสีชมพู
การส่งเสริมกีฬาในร่มแก่คนหนุ่มสาวช่วยส่งเสริมพลานามัยที่สมบูรณ์ –
รูปปั้นช้างงาเดียวสีขาวเขี้ยวยาวตัวสูงใหญ่สีดำมีรายละเอียดมาก
นักกีฬาวิ่งกระโดดกระโจนข้ามรั้วด้วยความดีใจ
นักเรียนค่อยๆ ดึงสุนัขออกจากกรง
ประโยคความรวม
ประโยคความรวม คือ ประโยคที่มีใจความมากกว่าหนึ่ง มักปรากฏคำเชื่อม และการเชื่อมความใน 4 ลักษณะ คือ การเชื่อมแบบคล้อยตาม การเชื่อมแบบขัดแย้ง การเชื่อมแบบให้เลือก และการเชื่อมแบบเป็นเหตุเป็นผลกัน ตัวอย่างของประโยคความรวมที่มีความซับซ้อน เช่น
สุนัขป่าออกวิ่งไล่ตามติดเหยื่อ แต่ฝูงสิงโตเข้ามาแย่งชิงเหยื่อไปได้
นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน และขาดเรียนมากเกินไป จึงไม่มีความรู้และสอบตก
ป่าไม้ให้ความชุ่มชื้นทำให้โลกเย็น ดังนั้น ถ้าคนทำลายป่าไม้เพิ่มขึ้นจะทำให้โลกร้อนขึ้น
ประโยคความซ้อน
ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความร่วมกันแบบใจความหลักกับใจความรอง แบ่งเป็น 3 ประเภทของการซ้อนความ คือ นามานุประโยค (ทำหน้าที่เป็นเหมือนนามในประโยค)คุณานุประโยค (ขยายคำนาม ตามหลังคำว่า ที่ ซึ่ง อัน) และวิเศษณานุประโยค (ขยายกริยา และวิเศษณ์ มักตามหลังคำว่า ให้ ว่า)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น